top of page

คุณเป็นโรคเบาหวานหรือเปล่า

คนไทย 3.5 ล้านคนป่วยด้วยโรคเบาหวาน แต่มีอีก 1.2 ล้านคน ไม่ทราบว่าป่วยด้วยโรคเบาหวาน วันนี้สามารถเช็คความเสี่ยงโรคเบาหวานได้ที่นี่แล้ว

กาแฟสด, โกโก้, ชานม, ชาเขียว, ขนมหวานบิงจู, ไอศกรีม หรือของทอด ของมัน เป็นที่โปรดปรานของหลายๆ คน เมื่อเราทานแล้วทำให้อารมณ์ดีขึ้น แต่ของหวานอาจเป็นตัวร้าย หากทานเกินพอดี ทำให้มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดได้  หรือหากมีกรรมพันธุ์สายตรง ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ หรือ แม่ มีประวัติเป็นโรคเบาหวาน  คุณก็มีสิทธิ์เป็นโรคเบาหวานได้เช่นกัน

ถ้าคุณยังไม่แน่ใจว่าจะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ ลองทำแบบประเมินความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดย American Diabetes Association’s Diabetes Risk Test เพื่อทดสอบว่าได้กี่คะแนน อยู่ในความเสี่ยงใด และควรปฏิบัติตัวอย่างไร

เบาหวานเมื่อเป็นแล้วจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคแทรกซ้อน NCDs (non-communicable diseases) ต่างๆ ได้มากมาย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคตา โรคของระบบประสาท รวมถึงโรคของหลอดเลือดส่วนปลาย และถึงแม้โรคนี้จะเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็สามารถควบคุมระดับน้ำตาลไม่ให้สูงเกินไปหรือควบคุมลงมาสู่ระดับของคนปกติได้หากรู้จักดูแลตนเองและมาพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ

เบาหวาน คือ โรคที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ โดยเกิดจากความผิดปกติของการใช้น้ำตาล ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ตามปกติ ทำให้มีระดับน้ำตาลสูงขึ้น     

คุณมีอาการแทรกซ้อนจากเบาหวานอยู่หรือไม่ ?  ลองทำแบบประเมินความเสี่ยงโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานด้วยตนเองเพื่อทดสอบเบื้องต้น และรับคำแนะนำ

เมื่อผู้ป่วยเป็นเบาหวาน หลักสำคัญคือ ควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงงดบุหรี่และแอลกอฮอล์ด้วย แต่หากไม่สามารถควบคุมสิ่งเหล่านี้ได้ จะเกิดโรคแทรกซ้อน ดังนี้

  1. โรคหลอดเลือดสมอง

  2. เบาหวานขึ้นจอประสาทตา

  3. โรคหลอดเลือดหัวใจ

  4. โรคไต

  5. เบาหวานลงเท้า เกิดแผลติดเชื้อที่เท้า

วันนี้สามารถทำการประเมินเบื้องต้นเพื่อดูภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา และโรคเบาหวานลงเท้าด้วยตนเองได้แล้ว

คลิก!! เพื่อรับแบบประเมินภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา
คลิก!! เพื่อรับแบบประเมินภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวานลงเท้า

ปริมาณน้ำตาลที่เหมาะสมต่อวัน สำหรับแต่ละช่วงวัย

เทรนการทานของหวานเครื่องดื่มหวานๆก็ผุดยี่ห้อใหม่ๆขึ้นมามากมาย จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก แนะนำให้คนรับประทานน้ำตาลแค่วันละ 6 ช้อนชา (หรือประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ) เท่านั้น จากการสำรวจของกรมอนามัย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กลับพบว่า คนไทยบริโภคน้ำตาลมากถึงวันละ 20 ช้อนชา เกินกว่าปริมาณแนะนำถึง 3 เท่า โดยเฉพาะเด็ก ๆ ที่ชอบดื่มน้ำอัดลมวันละหลายขวด หลายกระป๋อง เราจึงได้เห็นเด็กไทยจำนวนมากในยุคนี้มีภาวะน้ำหนักเกินตามมา จนสถิติ อ้วนลงพุงของเด็กไทยพุ่งสูงขึ้นที่สุดในโลก และในรอบ 5 ปีที่ผ่านมานี้ พบเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี ป่วยเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า ขณะเดียวกันยังพบว่า มีคนไทยถึง 17 ล้านคน ดื่มน้ำอัดลมทุกวัน ไม่แปลกเลยที่สถิติผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคอ้วน จะพุ่งสูงขึ้นตามไปด้วย

13 เทคนิค และข้อคิดดีๆ เมื่อต้องดูแลพ่อแม่ที่ป่วย (และอาจดื้อมาก) เพื่อเป็นกำลังใจให้ลูกๆ หลานๆ พบจากใน web พันทิพย์ โดยผู้แชร์เป็นผู้เป็นลูกคนหนึ่ง ที่มีพ่อแม่ที่ต้องดูแล่นกัน

  1. ไม่ว่าเราจะโตแค่ไหน มีความรู้เยอะเพียงใด อายุก็ยังห่างกับพ่อแม่เท่าเดิม  อย่าพยายามที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมของท่าน ถึงแม้จะเป็นพฤติกรรมที่ไม่เป็นผลดีต่อโรคเลยก็ตาม เถียงกันไปเราจะเหนื่อยทั้งกายและปวดทั้งใจ  ให้ค่อยๆ แทรกซึมเข้าไปในชีวิตท่านอย่างเนียนๆ วันนึงที่พ่อแม่เห็นด้วยตัวเองว่า ทำแบบนี้แล้วสบายตัวขึ้น ท่านจะยอมทำเอง โดยไม่มีใครเสียฟอร์ม ไม่มีใครแพ้ ไม่มีใครชนะ

  2. ดูแลพ่อแม่อย่างลูกพึงดู ไม่ใช่อย่างผู้รู้ นักวิชาการ สปอนเซอร์ หรือผู้ปกครอง อย่าลืมว่าพ่อแม่ทุกคนต้องการความรัก ความอบอุ่น  และความเคารพจากลูกมากกว่าอะไรทั้งหมด ถึงแม้บางท่านอาจจะแสดงออกในทางตรงกันข้ามก็ตาม

  3. ไม่มีใครอยากป่วย อยากเป็นคนป่วย อยากช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรืออยากเป็นคนแก่ ที่สูญเสียความเคารพตัวเอง  อย่าลืมว่ามนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ข้อนี้คนเป็นลูกมักจะมองข้ามมากที่สุด ไม่ว่าท่านจะป่วยหรือแก่ขนาดไหนก็ตาม ท่านมีสิทธิเต็มที่ ที่จะได้รับการปฏิบัติต่อด้วยความเคารพใน dignity นั้น

  4. อย่ายัดเยียดสิ่งที่เราเห็นว่า เหมาะที่สุดกับพ่อแม่ โดยท่านไม่เต็มใจ ถึงแม้มันจะเป็นสิ่งที่เลิศเหลือเกินในสายตาเรา หรือชาวโลกก็ตาม หลายๆ คนบ่นให้ฟังว่า หาคนมาดูแลก็ไม่เอา  ซื้อเตียงใหม่ให้ก็ไม่ชอบ ทำห้องให้ใหม่ก็ไม่ยอมอยู่  หมอที่เรารู้จักเก่งกว่าตั้งเยอะ ก็ไม่ยอมเปลี่ยนหมอ ฯลฯ ขอให้ค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป เมื่อความไว้เนื้อเชื่อใจเกิดขึ้น  ผู้ใหญ่จะรับความหวังดีจากเราด้วยความเต็มใจเอง

  5. การเปลี่ยน role จากผู้ถูกดูแลมาเป็นผู้ดูแล ทั้งทางกาย ทางใจ ทาง financial เป็น transition ที่อาศัยเวลาและความเข้มแข็งมหาศาล อย่าโทษตัวเอง ถ้าพบว่ามันไม่ง่ายและท้อแท้ คิดถึงหัวใจที่ยิ่งใหญ่ของพ่อแม่ แล้วจะพบว่าหัวใจของลูกที่พร้อมจะทำทุกอย่างเพื่อตอบแทนท่านไม่ได้ยิ่งใหญ่น้อยไปกว่ากันเลย

  6. ถึงเวลาแล้ว ที่ต้องรู้เวลากิน นอน ขับถ่าย ความดัน heart rate ปริมาณ intake อาหารและยา และการตอบสนองทั้งหมดต่อสิ่งเหล่านั้น รวมทั้งเบอร์โรงพยาบาล หมอ และ ambulance เพราะ emergency เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ยิ่งข้อมูลพร้อมเท่าไหร่ การรักษาพยาบาลจะผิดทางน้อยลงเท่านั้น

  7. เป็นคนพาพ่อแม่ไปหาหมอทุกครั้ง แรกๆ อาจได้รับการปฏิเสธไม่ให้ไปด้วย ให้พยายามแทรกซึมจนท่านชินที่มีเราไปอำนวยความสะดวกที่สุดแล้วท่านจะรู้สึกชินกับความสบายนี้ และเปิดใจให้เราเป็นส่วนหนึ่งของการรักษา

  8. หากจะจ้างคนดูแล เราต้องแน่ใจที่สุด  ว่าเรามีเวลาในการดูแลการทำงานของเขาอย่างใกล้ชิด คนดูแลไม่ได้รู้อะไรมากไปกว่าเรา และไม่ได้มีใจรักพ่อแม่เราอย่างที่เรามีแน่นอน

  9. จัดหาทุกอย่างที่พ่อแม่เคยชอบเคยใช้ แม้ว่าจะไม่ค่อยได้ใช้แล้วก็ตาม เช่น เสื้อผ้าที่นานๆ จะมีโอกาสใส่สักครั้งนึง นอกจากท่านจะรู้สึกว่าเราเอาใจใส่แล้ว ท่านจะยังรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า ไม่มีอะไรเสื่อมถอยจนด้อยค่า ใช้ของดีๆ สวยๆ ไม่ได้แล้ว คุณค่าทางใจแบบนี้ประมาณค่าไม่ได้เลย

  10. แบ่งหน้าที่กันกับพี่น้อง หรือคนในครอบครัวให้ชัดเจน จะช่วยลดภาระทางกายและทางใจลงได้เยอะ อย่างน้อยที่สุดก็ลดความตึงเครียดในครอบครัว รวมทั้งลดการดูแลซ้ำซ้อน เช่น การให้ยาซ้ำ อันอาจเป็นอันตรายได้

  11. คุยทิศทางการรักษา และการดูแลกับคนในครอบครัวให้ชัดเจนก่อนคุยกับหมอ เมื่อหมอเสนอวิธีการรักษาอะไร อย่ากลัวที่จะถาม อย่ากลัวที่จะขอเวลาหมอหาข้อมูลเพิ่มเติม 2nd opinion 3rd opinion สำคัญเสมอ อย่าหลับหูหลับตาเชื่ออะไรที่ไม่เข้าใจ และก่อนตัดสินใจอะไรสำคัญๆ ทุกครั้ง อย่าลืมหาข้อมูลของแต่ละทิศทาง และผลข้างเคียงประกอบการตัดสินใจด้วย

  12. ถ้าคุยกับคนในครอบครัวไม่รู้เรื่อง ญาติที่ไกลออกไปหน่อยที่มีความเป็นกลาง จะช่วยไกล่เกลี่ยได้ดีมากจำไว้เสมอว่าเราอาจเป็นคนที่คิดผิดเองก็ได้ และทิฏฐิมานะไม่เคยช่วยให้อะไรดีขึ้น

  13. เกิดอะไรผิดพลาด อย่ามัวแต่โทษตัวเองหรือปิดบังความจริง ให้รีบแจ้งหมอแจ้งครอบครัว และช่วยกันแก้ไขปัญหาทุกข้อมูลสำคัญกับการรักษาทั้งสิ้น

ไอเดียอาหารเพื่อสุขภาพเหมาะกับผู้สูงอายุ และผู้ควบคุมอาหาร  ที่สำคัญ มีประโยชน์

ผู้สูงอายุคือผู้ที่มีอายุ60 ปีขึ้นไป เมื่อร่างกายเจริญเติบโตถึงขีดสุดแล้วการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกาย จะเป็นไปในด้านเสื่อมสลายมากกว่าการสร้างเสริม เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุการทำงานของระบบระสารทจะด้อยลง ผู้สูงอายุมีปัญหาเรื่องนี้อย่างมากอาจเป็นโรคฟันผุหรือไม่มีฟันทั้งปาก ต่อมน้ำลายหลั่งสารน้ำลายน้อยลงมีผล ทำให้การบดเคี้ยวอาหารภายในปากเป็นไปได้ไม่ดีเมื่ออาหารมาถึงกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก เกิดปัญหา การย่อยและการดูดซึมเพราะน้ำย่อยในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กมีน้อยลงอาหารก็ย่อยไม่ได้เมื่อผ่านมาถึง ลำไส้ใหญ่และปล่อยก๊าซออกมาทำให้ท้องขึ้นท้องอืดได้การเคลื่อนไหวของลำไส้ก็มีน้อยกว่าวัยหนุ่มสาวทำให้ เกิดอาการท้องผูก อาหารจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการชะลอความเสื่อมถอยและฟื้นฟูสุขภาพ โดยเฉพาะผู้สูง อายุยังคงมีความต้องการพลังงานและสารอาหารที่มีคุณภาพสูงเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ จึงควรกิน อาหารครบทั้ง 5 หมู่เพียงพอและเหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย

ข้อมูลจาก คู่มือบริโภคอาหารสำหรับผู้สูงอายุ โดย กรมอนามัย กระทรวงสารธารณสุข 

>> Click เพื่อ Download <<

bottom of page