top of page
Writer's pictureWise Shop

รู้จักอาการสมาธิสั้น ADHD - Attention Deficit Hyperactivity Disorder

Updated: Aug 27, 2020



สมาธิสั้น

Attention Deficit Hyperactivity Disorder

"น้องซนมากค่ะชอบเล่นแรง ๆ " "น้องไม่อยู่นิ่งเลยพูดก็ไม่ฟัง" หรือ "น้องชอบพูดแทรกคนอื่น ไม่มีมารยาทเลยค่ะ " คุณพ่อ คุณแม่ เคยได้รับแจ้งจากคุณครู หรือเพื่อนๆ ว่าน้องมีพฤติกรรมแบบนี้บ้างไม๊คะ พฤติกรรมแบบนี้ รวมไปถึงอาการที่ไม่สามารถรอคอย หรือจดจ่อกับสิ่งใดนาน ๆ ได้นั้น อาจจะทำให้คุณพ่อ คุณแม่ สงสัยว่าลูกของเราอาจจะมีอาการสมาธิสั้นหรือไม่ ลองมารู้จักกับอาการ #สมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder: #ADHD ) กันนะคะ สมาธิสั้นมีอาการเป็นอย่างไร สมาธิสั้น เป็นความผิดปกติของการพัฒนาทางประสาท ส่งผลให้มีอารมณ์รุนแรง ไม่สามารถบังคับตัวเองให้จดจ่ออยู่กับอะไรนาน ๆ ได้ เว้นแต่จะเป็นกิจกรรมที่พึงพอใจ ไม่สามารถรอคอยได้ ทำงานตามขั้นตอนไม่ได้ หลงลืมอยู่เสมอ และโดนรบกวนสมาธิได้ง่าย พฤติกรรมเหล่านี้ พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่นะคะ แต่สำหรับในเด็กนั้น พฤติกรรมนี้ ใกล้เคียงกับการพัฒนาตามวัย ที่มีสาเหตุอื่นได้ด้วย เช่น น้องคิดเร็วทำเร็วกว่าเด็กคนอื่น และเลิกทำกิจกรรมเร็วกว่าคนอื่น จึงดูเหมือนเป็นเด็กที่ไม่อยู่นิ่ง จุดที่ต่างกันคือ เด็กที่คิดได้เร็ว จะควบคุมตัวเองให้ทำงานเสร็จได้ก่อน แต่เด็กสมาธิสั้น จะไม่สามารถควบคุมให้ตัวเองทำงานที่ไม่ชอบให้เสร็จได้  อีกกรณีที่ มีอาการคล้ายสมาธิสั้น คือ สภาพแวดล้อมที่ สับสน วุ่นวาย การได้รับสื่อหรือใช้อุปกรณ์ที่ตอบสนองอย่างรวดเร็วเป็นประจำ หรือ เกิดจากการเลี้ยงดูอย่างตามใจมากเกินไป สาเหตุเหล่านี้ จะทำให้เด็กไม่ได้รับการฝึกให้รอคอย จึงแสดงอารมณ์รุนแรงเมื่อไม่ได้รับสิ่งที่ต้องการ ก็อาจจะแสดงพฤติกรรมแบบนี้ได้เช่นกันค่ะ  หากเด็กไม่ได้เป็นสมาธิสั้น เมื่อโตขึ้นและได้รับมอบหมายให้ทำงาน หรือต้องปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันในสังคม หรือ การปรับสภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู อาการเหล่านี้ก็จะหายไปเอง แต่สำหรับผู้ที่สมาธิสั้นแล้ว จะมีอาการแบบนี้ไปตลอดจนโต ซึ่งจะเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิต การทำงาน และ ความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้  การรักษาสมาธิสั้น อาการนี้ไม่สามารถเห็นได้ชัดเจนจากภายนอก ดังนั้น หากสงสัยว่าลูกหลาน ของเราอาจจะมีอาการ สมาธิสั้น ควรพาไปพบจิตแพทย์เด็ก เพื่อทดสอบและ ตรวจโดยละเอียดว่ามีอาการนี้หรือไม่ จะได้ปฎิบัติตัว และรักษาอย่างถูกวิธี การรักษาโดยใช้ยาที่ออกฤทธิ์ ในการสร้างสารสื่อนำประสาทที่เกี่ยวข้องกับสมาธิ เช่น Dopamine หรือ Noradrenaline ซึ่งเป็นยาที่มีการใช้ในการรักษาอย่างแพร่หลาย เป็นเวลานาน นอกจากการรับยาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้ว การปรับสภาพแวดล้อม และปรับพฤติกรรม จะช่วยได้อีกส่วนหนึ่งนะคะ เช่น ให้น้องหัดทำตารางกิจกรรม และปฎิบัติตามอย่างสม่ำเสมอ กล่าวชมเชยเมื่อน้องทำตามได้สำเร็จ จัดที่พักอาศัย ให้สะอาดเรียบร้อย กำหนดตำแหน่งที่วางของไว้เป็นที่ เช่นกระเป๋าเรียน เครื่องเขียน จะวางตรงนี้เสมอ และหาเวลาทำกิจกรรมที่ส่งเสริมสมาธิ หรือ ฝึกทำสมาธิเลยก็ได้ค่ะ ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.nimh.nih .gov/health/publications/attention-deficit-hyperactivity-disorder-adhd-the-basics/index.shtml https://en.wikipedia .org/wiki /Attention_deficit_hyperactivity_disorder https://med.mahidol .ac.th/ramachannel/ http://www.psychiatry .or.th/JOURNAL/57-4/00-Vitharon.pdf

44 views0 comments

Comentários


Os comentários foram desativados.
bottom of page